ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร จดทะเบียนบริษัทตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
- คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
- ตราประจำจังหวัด : รูปเรือใบแล่นในทะเลกับโป๊ะของชาวประมง เบื้องหลังเป็นเกาะช้าง หมายถึง จังหวัดตราดมีเกาะเป็นจำนวนมาก และเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือเกาะช้าง การที่มีพื้นที่ติดกับทะเล ราษฎรจึงยึดถือการประมงเป็นอาชีพหลักมาแต่โบราณ (เดิมจังหวัดตราดใช้ตราประจำจังหวัดเป็นรูปเรือรบหลวงตราด)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : หูกวาง (Terminalia catappa)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกฤษณาชนิด (Aquilaria subintegra)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กหรือปลาย่ำสวาท (Plectropomus leopardus)
ChonlateeKeyman
เราคือผู้ให้บริการ ด้านการวางแผน ภาษีนิติบุคคลด้วย ประกันคีย์แมน
รับทำประกันชีวิต Keyman Protection
เพื่อนำใบเสร็จมาเป็นค่าใช้จ่าย ในการทำธุรกิจ
ใบเสร็จประกันชีวิต Keyman สามารถใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด 100%
เพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษี และ เปลี่ยนเงินในบริษัทให้เป็นเงินออมของเจ้าของบริษัท
ที่เป็นนิติบุคคล
-
KEYMAN PROTECTION
โครงการ "KEYMAN PROTECTION"
ประกันบุคคลสำคัญ (Keyman Life Insurance) ประกันคีย์แมน
คุ้มครองบุคคลสำคัญขององค์กรผ่านบัญชีนิติบุคล
สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลได้
เป็นช่องทางเลือกใหม่ขององค์กร ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
เป็นช่องทางเลือกใหม่ของการบริหารภาษีนิติบุคคลchonlateekeyman.com
-
5 เหตุผล
ที่สำนักงานบัญชีควรมีพันธมิตรที่เชี่ยวชาญเรื่องประกันคีย์แมน"
1. เป็น One Stop Service Partner สำหรับลูกค้า
2. เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสำนักงานบัญชีที่สามารถให้คำปรึกษาได้นอกเหนือจากงานบัญชี
3. เป็นการสร้างรายได้เสริมอีกทาง จนอาจแซงรายได้หลักได้ในอนาคต
4. เป็นการแนะนำให้ลูกค้าวางแผนภาษีที่ถูกต้อง ด้วยประโยชน์และคุณค่าดังต่อไปนี้
5. เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่งขึ้นระหว่างสำนักงานบัญชีกับลูกค้าchonlateekeyman.com
สอบถามรายละเอียด
ประวัติศาสตร์
ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมืองตราดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่ค้นพบใน สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ปีพ.ศ. 1991-2031) ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเป็น บ้านเมือง ครั้งใหญ่ขึ้น โดยจัดแบ่งการ บริหารราชการแผ่นดิน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางประกอบไปด้วย ฝ่ายทหาร และ พลเรือน ส่วนภูมิภาคแบ่งเมืองต่างๆ ออกเป็น หัวเมืองเอก หัวเมืองโทหัวเมืองตรี และหัวเมืองจัตวางตามลำดับอย่างไร ก็ตามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ไม่ปรากฏชื่อของเมืองตราด แต่อย่างใดเพียงแต่บอกว่า"หัวเมืองชายทะเลหรือ บรรดาหัวเมืองชายทะเล" เท่านั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปรากฏว่า บรรดาหัวเมืองชายทะเลแถบตะวันออกนั้นเรียกแต่เพียงว่า"บ้านบางพระ" ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าบรรดาเสนาบดีจัตุสดมภ์ทั้งหลาย ได้พากันแบ่งหัวเมือง ต่างๆ ให้ไปขึ้นกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหมและโกษาธิบดี ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทางทะเล หลักฐานอีกทางหนึ่งเชื่อว่าคำว่า"ตราด" นี้อาจจะมีชื่อเรียกเพี้ยนมาจาก "กราด" อันเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งสำหรับใช้ทำไม้กวาด ซึ่งในสมัยก่อน ต้นไม้ชนิดนี้มักจะมีมากทั่วเมืองตราดจากหลักฐานต่างๆดังกล่าวมาแล้วนี่ เองจึงทำให้ชื่อว่า "เมืองตราด" เป็นเมืองที่มีชื่อเรียกกันมาอย่างนี้กว่า 300 ปีมาแล้ว และ เป็นเมืองสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการคลังของประเทศมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแล้ว จนกระทั่งก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทหาร จำนวนหนึ่ง ตีฝ่าวงล้อม ของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทางไปรวมตัวกัน ทางทิศตะวันออก โดยยกทัพไปถึงเมืองตราดซึ่งปรากฏในพงศาวดารว่า" ...หลังจากพระเจ้าตากสิน ตีเมือง จันทบุรีได้แล้ว เมื่อวันอาทิตย์เดือน7ปีกุนพ.ศ. 2310ก็ได้เกลี้ยกล่อม ผู้คนให้กลับ คืน มายังภูมิลำเนาเดิม... "ครั้นเห็นว่าเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว จึงยกกองทัพเรือ ไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรก็พากันเกรงกลัวยอมอ่อนน้อม โดยดี ทั่วทั้งเมือง และขณะนั้นมีสำเภาจีน มาทอดอยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากให้ไปเรียกนาย เรือมาเฝ้าพวกจีนขัดขืน แล้วกลับยิงเอาข้าหลวง พระเจ้าตากทรงทราบก็ลงเรือที่นั่งคุม เรือรบลงไปล้อมสำเภาไว้แล้ว บอกให้ พวกจีนอ่อนน้อมโดยดีพวกจีนก็หาฟังไม่กลับเอาปืน ใหญ่น้อยระดมยิงรบกันอยู่ครึ่งวัน พระเจ้าตากก็ตีได้เรือสำเภาจีนทั้งหมด ได้ทรัพย์สิ่งของ เป็นกำลังการทัพเป็นอันมาก พระเจ้าตาก จัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้ง อยู่ ณ เมืองจันทบุรี" เหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับเมืองตราด ก็คือ เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้เสียดินแดน ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส เนื่องมาจากการตกลงทำสนธิสัญญา กับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ร.ศ.122) ซึ่งทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนจังหวัดตราด และ เกาะต่างๆ ตั้งแต่อำเภอแหลมสิงห์ จ.จันทบุรีไปจนถึงเกาะกูด และเมืองปัจจันตคีรีเขตร หรือ เกาะกง ให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนให้ฝรั่งเศสถอนกองทหารไปจากจันทบุรี โดยสัญญาฉบับนี้ ได้ ให้สัตยาบันต่อกันและมีผลทำให้กองทหารฝรั่งเศส ถอนออกไปจากเมืองจันทบุรีตามสัญญา เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2447
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 38 ตำบล 261 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองตราด
อำเภอคลองใหญ่
อำเภอเขาสมิง
อำเภอบ่อไร่
อำเภอแหลมงอบ
อำเภอเกาะกูด
อำเภอเกาะช้าง